Webboard กรมคุมประพฤติ
   เมนูหลัก
 
   ผู้ดูแลระบบ

:: หลักเกณฑ์การเบิกเงินค่าปฏิบัติงานนอกเวลา(OT)
ขอเรียนสอบถามเพื่อเป็นหลักเกณฑ์ที่ถูกต้องและเป็นความรู้ในการใช้ปฏิบัติงานต่อไปและขอขอบคุณท่านที่สละเวลาให้ความรู้ในครั้งนี้ กรณีตัวอย่างที่ 1 ในการเบิก OT งานสืบเสาะการเงินแจ้งว่าต้องนำจำนวนพคป.ทั้งหมดในงานสืบเสาะมาหารจำนวนคดีที่รับแล้วดูว่าคดีต่อคนมีจำนวนตามเกณฑ์หรือไม่ โดยแจ้งว่ามีเกณฑ์ต่อคนจำนวน 15 คดี แต่ในงานมีลูกจ้างชั่วคราวที่ช่วยงานคดีต้องรวมมาหารด้วยหรือไม่เนื่องจากลูกจ้างชั่วคราวไม่สามารถเบิกได้ รวมทั้งหัวหน้างานสืบเสาะต้องรวมมาหารด้วยหรือไม่ กรณีตัวอย่างที่ 2 หากทำงานในงานฟื้นฟูฯ แต่เนื่องจากคดีสืบเสาะเข้ามาปริมาณมาก ท่านผอ.จึงให้ช่วยงานสืบเสาะดังกล่าว แต่การเงินแจ้งว่าหลักเกณฑ์ไม่สามารถเบิก OT ได้แม้งานสืบเสาะจะเบิกได้ เนื่องจากพคป.งานฟื้นฟูฯอยู่แผนงานป้องกันคนละแผนงานกับงานสืบเสาะ และงานฟื้นฟูฯก็ไม่สามารถเบิกแผนงานป้องกันของตนได้เนื่องจากงานที่ทำเป็นของแผนงานปฏิรูปฯ ของงานสืบเสาะ ตามความเห็นข้าฯหากปริมาณคดีถึงเกณฑ์ก็น่าจะสามารถเบิกได้ในแผนงานปฏิรูปของงานสืบเสาะเนื่องจากท่านผอ.มีคำสั่งให้ทำงานด้านสืบเสาะแล้ว กรณีตัวอย่างที่ 3 ธุรการในการเบิก OT มีเกณฑ์อย่างไร เช่น ธุรการคดีสอดส่องต้องให้พคป.ถึงเกณฑ์จึงจะเบิกได้ตามพคป.งานสอดส่อง โดยพคป.งานสอดส่องตามเกณฑ์ที่การเงินแจ้งต้องมีคดีต่อคนๆละ 30 คดี หากสนง.มีพคป. 3 คน ก็รวมมีคดีทั้งหมด 90 คดี ถ้ามีการย้ายงานพคป.มาเพิ่มในงานสอดส่องเป็น 6 คน ปรากฎว่ามีคดีต่อคนๆละ 20 คดี จึงเบิกไม่ได้ แต่ธุรการคดีกลับรับคดีมากกว่าเดิมคือ 120 คดี หรือถ้าใช้เกณฑ์นี้หากสนง.คป.ใดมีพคป.งานสอดส่องเพียง 1 คน รับคดี 40 คดี ก็เบิก OT ได้และธุรการก็เบิกได้ ซึ่งเปรียบเทียบงานกลับต่างกันมาก จึงคิดว่าเกณฑ์ธุรการไม่น่าจะใช่ตามที่แจ้งว่าต้องยึดตามการเบิกได้ของพคป. และอยากทราบว่ามีเกณฑ์แบบใดจะได้มีแนวทางที่เป็นแนวทางเดียวกัน เพราะรู้สึกสับสนกับหลักเกณฑ์ที่แจ้งมาของการเงิน ขอขอบคุณท่านที่ช่วยให้ความรู้ในครั้งนี้ขอบคุณมากครับ
 
ผู้ตั้งกระทู้ : พนักงานคุมประพฤติ    2015-12-03 16:30:39  จำนวนผู้อ่าน :629
 
** - - - ตอบกระทู้ - - - **
:: คำตอบที่ 1 กระทู้ "หลักเกณฑ์การเบิกเงินค่าปฏิบัติงานนอกเวลา(OT)..."
การเบิกเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการให้เบิกจ่ายตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ
พ.ศ.2550 ซึ่งพอสรุปได้ความว่า การปฎิบัติงานนอกเวลาราชการ ต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายก่อนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการนั้น เพื่อประโยชน์ของทางราชการเป็นสำคัญและให้คำนึงถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกับระบบและวิธีการจัดการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสาตร์ของส่วนราชการนั้น กรมฯไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์อนุมัติการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการมาก่อนแต่เป็นดุลยพินิจและอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ได้รับมอบหมาย กรมฯได้มอบอำนาจให้ ผอ.คป.เป็นผู้พิจารณาอนุมัติ การที่สำนักงานฯกำหนดหลักเกณฑ์ประกอบการพิจารณาอนุมัติขึ้นเองนั้นสามารถกระทำได้เพราะเป็นอำนาจการบริหารงานโดยจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ของทางราชการเป็นสำคัญ
ผู้ตอบกระทู้ : นางสาวอรรถรินทร์ มีสกุล  -  2015-12-09 14:08:55


  กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม
อาคารศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ชั้น 4 และ ชั้น 6
เลขที่ 120 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กทม. 10210 Tel : 0-2141-4749

พัฒนาโดย : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมคุมประพฤติ